โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า หรือที่จอดรถหรู ๆ   ที่พบปัญหาพื้นปูนแตกร้าว รั่วซึม จะหมดปัญหานี้ไปเลย เมื่อปรับมาใช้แบบเป็นพื้นอีพ็อกซี่ (EPOXY)/พื้นพียู  (PU)/ พื้น EPOXY ไปเลย แต่ก่อนอื่น  เราจะมาทำความรู้จักกันก่อนว่า  คือพื้นแบบไหน  มีประเภทอะไรบ้าง  มีคุณสมบัติและประโยชน์อย่างไร เหมาะกับการใช้งานสำหรับพื้นที่แบบไหน  พร้อมทั้งข้อดี-ข้อเสีย

พื้น epoxyลานจอดรถ

 

1.พื้นอีพ็อกซี่ (EPOXY)

พื้นอีพ็อกซี่ (EPOXY) คือ  พื้นคอนกรีตที่แข็งแรง ขัดมันเรียบร้อย  แล้วถูกเคลือบด้วยสีอีพ็อกซี่ ลักษณะเหมือนฟิล์มปิด 100%  ส่วนใหญ่นำมาเคลือบพื้นที่ๆต้องการเรื่องความแข็งแรงทนทาน แต่มีข้อควรรู้คือ พื้น EPOXY ไม่ขอบแสงยูวี

พื้นอีพ็อกซี่ (EPOXY) มีประเภท

-Epoxy Coating  จะเป็นการเคลือบแบบบาง ทนกับรอยขูดขีดได้ระดับหนึ่ง เหมาะกับพื้นที่ๆ ไม่ต้องรองรับน้ำหนักและพื้นที่ ๆ ใช้งานไม่หนักมาก

-Eposy Self –Leveling จะเป็นการเคลือบแบบหนารับน้ำหนักได้ดี เหมาะกับพื้นที่ ๆใช้งานหนัก

พื้นพียู (PU)มีคุณสมบัติ

 

พื้นอีพ็อกซี่ (EPOXY) มีคุณสมบัติและประโยชน์อย่างไร

– ทนต่อสารเคมี  สารละลายที่เป็นกรด  น้ำมันและสารหล่อลื่นต่าง   ๆ

– ป้องกันการไหลซึมของน้ำ ไม่ให้พื้นคอนกรีตได้รับความเสียหาย

– ไม่เกิดเชื้อรา  และการเป็นตะไคร่น้ำ

– ปราศจากฝุ่นผง และพื้นผิวสกปรก

– ทำความสะอาดพื้นผิวได้ง่าย   สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลา

– เป็นพื้นผิวที่เรียบ ไม่มีรอยต่อที่มักจะทำให้เกิดการกักเก็บฝุ่น และเชื้อโรค

– มีให้เลือกหลายสี ที่เห็นโดยทั่วไป  ก็จะมีสีฟ้า   สีแดง  สีเขียว    พร้อมทั้งเลือกเคลือบให้หนาหรือบาง ได้เหมาะสมตามพื้นที่การใช้งาน

 

พื้นอีพ็อกซี่ (EPOXY) เหมาะกับพื้นที่ใดบ้าง

– พื้นโรงงานอุตสาหกรรมต่าง  ๆ  ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ และขนาดย่อม

– ลานจอดรถ  ไม่ว่าจะเป็น ตามอาคารจอดรถให้เช่า  ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล

– อาคารศูนย์แสดงสินค้า อาคารที่จัดประชุม ต่าง   ๆ

– โชว์รูมรถยนต์

– พื้นสนามกีฬา แบตมินตัน วอลเล่ย์บอล  บาสเก็ตบอล ฯลฯ

 

ข้อดี และข้อเสีย ของพื้นอีพ็อกซี่  (EPOXY)

– ข้อดีคือ  มีความเงาวาว เรียบหรูดูดี   สีสันสดใสพร้อมทั้งมีให้เลือกใช้ได้หลายสี  ไม่มีรอยต่อให้ขัดต่อสายตา ป้องกันฝุ่น และละอองต่างๆ  ทำความสะอาดได้ง่ายและสะดวก บำรุงรักษาง่าย

– ข้อเสียคือ ไม่ค่อยทนกับอุณหภูมิ ที่เย็นจัด หรือร้อนจัด เพราะจะทำให้พื้น EPOXYเกิดการยืดหรือหดตัว ก็จะทำให้พื้น  เกิดการบวม พองตัว แตก  หรือหลุดร่อนได้  ที่เป็นอย่างนี้เพราะพื้นEPOXYมีลักษณะเป็นฟิล์มปิด 100%  เมื่อมีของเหลวอยู่ที่พื้นผิวด้านบน ก็จะไม่สามารถซึมสู่พื้นคอนกรีตด้านล่างได้  และในมุมกลับกัน ถ้าเกิดความชื่นจากพื้นคอนกรีตด้านล่าง ความชื้นนั้นก็ไม่สามารถระเหยทะลุผ่านออกมาที่ผิวด้านบนของพื้นอีพ็อกซี่ (EPOXY) ได้  จึงทำให้เกิดเป็นความชื้นสะสมและดันพื้นอีพ็อกซี่ (EPOXY) เกิดการบวม พองตัว จนแตกและหลุดร่อน ต้องเลือกใช้กับบริเวณที่เหมาะสมต่อการใช้งาน หากพื้นผิวที่นำไปใช้อยู่ในบริเวณที่มีน้ำขัง  หรือต้องใช้น้ำอยู่ตลอดเวลา    ก็ไม่เหมาะกับทำเป็นพื้นอีพ็อกซี่ (EPOXY) เพราะถ้ามีน้ำอยู่ตลอด พื้นซึ่งมีความมันเงา จะทำให้ลื่นล้มได้ง่าย ๆ

 

  1. พื้นพียู (PU)   คอนกรีต ที่มีวัสดุเคลือบพื้นผิว ปกป้องผิวคอนเกรีตจากน้ำ ความชื้น  สารเคมี  และด้วยคุณสมบัติที่แข็งเหมือนคอนกรีต และทนทาน  ซึ่งพื้นพียู (PU) จะแตกต่างและมีคุณสมบัติพิเศษ ที่พื้นอีพ็อกซี่ (EPOXY) ไม่มีคือ  ความชื้นสามารถไหลผ่านตัววัสดุเคลือบพื้นผิวได้   ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดการบวม  แตกและหลุดร่อน

พื้นพียู (PU) มีประเภท

-พื้นพียู แบบบาง เหมาะกับพื้นที่ ๆ ใช้งานไม่หนักมาก   เช่น โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา ห้องทดลอง/ทนต่อสารเคมี และกรด-ด่าง

-พื้นพียู แบบหนาปานกลาง  เหมาะกับพื้นที่ ๆใช้งานหนักได้  เช่นพื้นโรงงานอุตสาหกรรม  ผลิตอาหาร เครื่องดื่ม  ทนต่อรอยขีดข่วน และแรงกระแทกได้ดี

-พื้นพียู แบบหนามาก   เหมาะกับพื้นที่ ๆ ใช้งานหนักมาก   เช่นพื้นโรงงานอุตสาหกรรม อาหาร เครื่องดื่ม  สินค้าอุปโภคบริโภค พื้นที่ ๆ วางเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนาดใหญ่สำหรับการผลิต พื้นที่สำหรับโหลดสินค้า      ทนต่อการขีดข่วนและแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี มีอายุการใช้งานที่ยาวนานหลายปีมากกว่าพื้นพียูประเภทอื่น ๆ

 

พื้น epoxyโรงงานอุตสาหกรรม

 

พื้นพียู (PU)มีคุณสมบัติ

-พื้นผิวเรียบ  ไม่มีรอยต่อที่ก่อให้เกิดการกักเก็บฝุ่นละออง และเชื้อโรค   ทำความสะอาดง่าย ประหยัดเวลา

-ป้องกัน การไหลซึมของน้ำ ไม่สามารถไหลผ่านลงไปที่พื้นคอนกรีตได้

-สารเคมีไม่สามารถกัดกร่อนพื้นผิวได้

-ป้องกันการเกิดฝุ่น ฝุ่นผงละอองต่าง  ๆ

– ป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียต่าง  ๆ

-ทนต่ออุณหภูมิ ที่ร้อนจัด และเย็นจัดได้เป็นอย่างดี

-ทนต่อความชื้นได้   และสามารถระบายความชื้นจากคอนกรีตไหลผ่านขึ้นสู่พื้นผิวที่เคลือบได้  ทำให้พื้นพียู(PU) ไม่เกิดการบวม  และแตกร่อนได้

-ทนต่อแสงUV  ได้เป็นอย่างดี สามารถใช้งานกับพื้นที่ภายนอกอาคารได้

 

พื้นพียู (PU) เหมาะกับพื้นที่ใดบ้าง

-พื้นโรงงานอุตสาหกรรม ผลิตอาหาร  เครื่องดื่มสินค้าอุปโภค และบริโภค

-พื้นห้องเย็น ห้องแช่แข็ง

-พื้นที่คลังสินค้า ที่ต้องโหลดของหนัก  ๆ

 

ข้อดีข้อเสีย ของพื้นพียู (PU)

ข้อดีคือ เป็นพื้นที่มีความทนทาน ระบายความชื้นจากคอนกรีตได้

ข้อเสียคือ มีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าพื้นอีพ็อกซี่(EPOXY) และมีแรงดึงที่ค่อนข้างสูงกว่า บางครั้งอาจทำให้พื้นผิวบริเวณด้านขอบ ตามมุมบางจุด เด้งหลุดได้    ซึ่งข้อนี้จะเกิดจากการเตรียมพื้นผิวไม่ดีพอ