การประหยัดพลังงานในระบบอัดอากาศ (air compressor)
การประหยัดพลังงานในระบบอัดอากาศ ระบบลมอัด ระบบลม (air compressor)ในโรงงาน นอกเหนือจากการลดการรั่วไหลของอากาศอัด หลายโรงงานอาจจะมีการรั่วไหลของพลังงานจำนวนไม่น้อยโดยที่ผู้ดีแลไม่ทราบ หรือไม่ให้ความสำคัญแต่จริงๆแล้วถ้าปล่อยให้พลังงานรั่วไหลออกไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่ได้มีการตรวจสอบนั้น จะทำให้เกิดผลกระทบหลายด้าน วันนี้เลยถือโอกาสหาข้อมูลการประหยัดพลังงานในระบบอากาศอัดด้วยวิธีต่างๆมาฝากคนที่กำลังหาข้อมูลในส่วนนี้อยู่ครับ
จริงๆแล้ว ปัญหาในระบบอัดอากาศ (air compressor) ระบบลมในโรงงานนั้น เรื่องการลดการรั่วไกลของอากาศอัดเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุดในการประหยัดพลังงานในระบบอัดอากาศก็ว่าได้ครับ แต่ยังมีหลายวิธีที่สามารถช่วยให้เราผลิตและใช้อากาศอัดได้อย่างคุ้มค่าที่สุดครับ ซึ่งที่หลายๆโรงงาน ได้ดำเนินการอยู่นอกจากการลดการรั่วไหลของอากาศอัดหรือลมแล้ว คือการลดความดันอากาศอัดให้ตํ่าที่สุด และการลดอุณหภูมิของอากาศก่อนเข้าเครื่องอัดอากาศก็เป็นอีก 2 มาตรการที่พบบ่อยในการประหยัดพลังงานในระบบอัดอากาศ ในส่วนนี้ผมจำเล่ากรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงสำหรับระบบอัดอากาศ ที่นอกเหนือจาก 3 กรณีนี้แล้วกันน่ะครับ
เริ่มกรณีศึกษาแรกกันเลยน่ะครับ เป็นกรณีศีกษาง่ายๆ ที่เกี่ยวข้องกับการไม่ได้ปิดวาล์วอากาศอัดก่อนออกจากถังพักอากาศ ซึ่งโรงงานหนึ่งในปทุมธานีทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่เมื่อเลิกงานผู้ดูแลระบบอากาศอัด (air compressor system) ไม่ได้ทำการปิดวาล์วดังกล่าวทำให้ความดันอากาศอัดในถังพักลดลงจาก 8 barg เป็นไม่มีอากาศอัดเหลือในถังพัก โดยสังเกตุจากมาตรวัดความดันลดลงเหลือ 0 barg ต่อมามีที่ปรึกษาด้านพลังงานให้คำแนะนำให้ผู้รับผิดชอบปิดวาล์วที่ถังพักอากาศอัดทุกครั้งหลังเลิกงาน โดยจากการทดลองปิดวาล์วดังกล่าวในช่วงเช้าก่อนเริ่มเดินเครื่อง ความดันอากาศอัดในถังพักลดลงจาก 8 barg เหลือ 5 barg ซึ่งแสดงว่ามีอากาศอัดเหลือในถังพักทำให้ลดปริมาณอากาศอัดที่ต้องอัดเพิ่มเพื่อให้ได้ความดันใช้งานตามต้องการ ทำให้โรงงานประหยัดเงินได้โดยที่ไม่ต้องลงทุนสำหรับมาตรการนี้ ดังนั้นหลังเลิกงงานโรงงานจึงให้ผู้ดูแลปิดวาล์วอากาศอัดก่อนออกจากถังพักทุกถังพัก เรื่องนี้ถือว่าดูง่ายแต่บางโรงงานอาจคิดไม่ถึงหรือปล่อยประละเลย อาจทำให้มียอดค่าใช้จ่ายในด้านที่เกี่ยวข้องเกินความจำเป็น